ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID)

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) เป็นอาการเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมักเป็นผลมาจากการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น คลาไมเดียและหนองใน ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดขึ้นเมื่อการติดเชื้อแพร่กระจายจากช่องคลอดไปยังปากมดลูก เยื่อบุมดลูก (เอนโดมีเทรียม) และ/หรือท่อนำไข่ อาการอักเสบนี้อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนบริเวณอุ้งเชิงกรานและระบบสืบพันธุ์หลายประเภท 

อุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถรักษาได้ง่าย เมื่อได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ และคนส่วนใหญ่ก็สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด แต่บ่อยครั้งจะไม่ได้รับการวินิจฉัยเนื่องจากผู้ป่วยไม่แสดงอาการ 

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

ระยะเวลาแสดงอาการของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่ตายตัว และคุณอาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลยเป็นระยะเวลานาน อาการของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจจะมีตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลางไปจนถึงรุนแรง คุณอาจจะค่อยๆ แสดงอาการหรือเกิดอาการขึ้นอย่างฉับพลัน  

หากไม่รักษาโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ปวดท้องเรื้อรัง การตั้งครรภ์นอกมดลูก (ตัวอ่อนเจริญเติบโตนอกมดลูก) การแท้ง การคลอดก่อนกำหนดและทารกตายในครรภ์ตอนคลอด 

การเริ่มปวดอุ้งเชิงกรานก็เป็นอาการหลักของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

โรค PID อาจแสดงอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดท้องส่วนล่างหรือเป็นตะคริว
  • ปวดจากอุ้งเชิงกรานไปจนถึงต้นขา
  • ปวดช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวมามากกว่าปกติและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • รอบประจำเดือนผิดปกติ
  • เลือดไหลหรือเลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบประจำเดือน
  • ปวดปัสสาวะฉับพลันและปัสสาวะบ่อย
  • ปวดท้อง ขณะขับถ่าย
  • รู้สึกไม่สบายบริเวณทวารหนักหรือรู้สึกแน่นท้อง
  • ท้องอืด
  • เป็นไข้สูง เป็นไข้ต่ำๆ คลื่นไส้และอาเจียน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าและเฉื่อยชา 

สาเหตุที่พบบ่อย

สาเหตุของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบที่พบบ่อยที่สุดได้แก่การติดเชื้อคลาไมเดียและหนองใน ล่าสุดโรคไมโคพลาสมา เจนิทาเลียมได้รับการวิจัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกโรคหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ความเสี่ยงในการอุดตันของท่อนำไข่สูงขึ้นเล็กน้อยสำหรับโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบที่เกิดจากหนองใน

การทำแท้ง การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) หรือการคลอดบุตร มีผลเสี่ยงต่ำที่จะทำให้เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การป้องกัน

เนื่องจากอุ้งเชิงกรานอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางประเภท ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดจึงเกี่ยวข้องกับ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณสามารถป้องกันอุ้งเชิงกรานอักเสบได้โดย: 

  • ลดความเสี่ยงในการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลาไมเดียและหนองใน
  • ตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำเพื่อหา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบอย่างทันท่วงทีและครบถ้วนสมบูรณ์

แนะนำให้คุณเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งที่เปลี่ยนการมีเพศสัมพันธ์จากทางทวารหนักเป็นช่องคลอดหรือทางปาก

การตรวจ 

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมีดังนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีให้คำปรึกษาแก่คนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • การตรวจช่องคลอด (แพทย์/พยาบาลจะสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอดเพื่อทดสอบดูค่าความรู้สึกเจ็บและไวต่อการสัมผัสปากมดลูกและโครงสร้างภายในอื่นๆ)
  • การใช้ไม้สวอบป้ายเนื้อเยื่อจากช่องคลอดและคอมดลูก
  • วิธีการตรวจอื่นๆ อาจรวมถึงการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและการตรวจอัลตราซาวด์ ตามที่แพทย์ของคุณแนะนำ
  • บางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดส่องกล้อง (โดยใช้กล้องส่องในช่องท้อง) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงกว่าปกติ

ควรตรวจเมื่อไหร่

คุณควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากคุณมีอาการของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อย่าลืมอธิบายอาการของคุณแทนที่จะขอแค่ตรวจสุขภาพทางเพศตามปกติ เนื่องจากการวินิจฉัยโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบต่างจากการวินิจฉัยโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

ข้อมูลอื่นๆ

  • การตรวจอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่รวมอยู่ในการตรวจสุขภาพทางเพศตามปกติ แต่มักจะตรวจเจอได้จากผลของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่าตรวจโดยเรียกเก็บจากรัฐบาลแทน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare ก็ตาม ดังนั้นการตรวจจึงน่าจะฟรี
  • หากคุณพบแพทย์ GP คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน 

การรักษา

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบรักษาได้ โดยเฉพาะหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้มีดังนี้   

วิธีรักษา

  • รับประทานยาปฏิชีวนะบางประเภทร่วมกัน ส่วนใหญ่แล้วเป็นเวลาสองสัปดาห์
  • มีการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงนี้
  • ผู้ที่มีอาการของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบรุนแรงอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ 

  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นอยู่กับยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งจ่ายให้คุณ
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่ารักษาโดยเรียกเก็บจากรัฐบาลแทน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare ก็ตาม ดังนั้นการรักษาจึงน่าจะฟรี 
  • หากคุณพบแพทย์ GP คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน 
  • ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ใหม่ หากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นเริ่มแรกยังรักษาไม่หายขาด บ่อยครั้งเป็นเพราะว่ารับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบหรือคู่นอนไม่ได้เข้ารับการตรวจและรักษา

อุ้งเชิงกรานอักเสบอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • แนะนำให้คุณงดการมีเพศสัมพันธ์หนึ่งสัปดาห์ในระหว่างการรักษา และจนกว่าอาการจะหายไป 
  • หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ การใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อที่ก่อโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบแต่ไม่มีการรับประกัน
  • ยาปฏิชีวนะบางประเภทสามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (‘ยาคุม’) ได้ 
  • หากคุณมักเป็นตกขาวเมื่อทานยาปฏิชีวนะ คุณควรทานพวกโพรไบโอติกส์ระหว่างและหลังการรักษาเพื่อป้องกันปัญหานี้

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.