ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ (Phimosis)  

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบคือภาวะที่ผิวหนังบริเวณปลายองคชาตไม่สามารถรูดกลับลง (รูดคืน) ผ่านปลายอวัยวะเพศ (หัวลึงค์) ได้  ได้ ภาวะหนังหุ้มปลายตีบสามารถทำให้ปัสสาวะได้ลำบาก ผิวหนังบริเวณปลายองคชาตบวมและรู้สึกปวดหรือเคืองขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ อาจทำให้ล้างส่วนที่อยู่ใต้หนังหุ้มปลายได้ยาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น ปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ ภาวะหนังหุ้มปลายตีบอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ บาดเจ็บหรือการอักเสบ

ถึงแม้ว่าอาการของภาวะหนังหุ้มปลายตีบอาจจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว แต่โรคนี้ก็ไม่ร้ายแรง อาการของภาวะหนังหุ้มปลายตีบสามารถรักษาได้ง่าย โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว การรักษาภาวะหนังหุ้มปลายตีบแตกต่างกันไปตามประเภทและความรุนแรง แพทย์ของคุณสามารถช่วยคุณเลือกวิธีที่่ดีที่สุดในการรักษา 

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

Content warning: click to show images

องคชาต

  • ไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายลงมาได้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด
  • เจ็บปวดบริเวณหนังหุ้มปลายเมื่อองคชาตแข็งตัวหรือมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะลำบาก
  • หนังหุ้มปลายบวมขณะปัสสาวะ (โป่งพอง)
  • ระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ
  • ท่อปัสสาวะ/รูเปิดท่อปัสสาวะชายบวม
  • ผิวหนังองคชาตติดเชื้อ

สาเหตุที่พบบ่อย

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบมีสองประเภทด้วยกัน

หนังหุ้มปลายตีบทางสรีรวิทยา เมื่อไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายองคชาตลงมาได้ตามธรรมชาติ หนังหุ้มปลายปิดเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็ก และโดยปกติหนังหุ้มปลายจะเปิดเองลงได้หมดเมื่อสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ ผู้ใหญ่ที่มีหนังหุ้มปลายตีบทางสรีรวิทยาอาจจะไม่ต้องรับการรักษา เว้นเสียแต่ว่าก่อให้เกิดปัญหา 

หนังหุ้มปลายตีบทางพยาธิวิทยา (ภาวะตีบจากปัจจัยภายนอก) เกิดจากรอยแผลเป็นบริเวณหนังหุ้มปลายที่เป็นผลมาจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ (รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) การอักเสบหรืออาการทางผิวหนัง หนังหุ้มปลายจะไม่เปิดเองและมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

การรักษา

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะหนังหุ้มปลายตีบสามารถรักษาได้ ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษานี้มีดังนี้   

วิธีรักษา

  • ทาครีมสเตียรอยด์ (ที่ซื้อได้เองตามร้านขายยาหรือใช้ใบสั่งยา โดยปกติจะใช้เวลาสองสัปดาห์)
  • รูดหนังหุ้มปลายองคชาตด้วยตนเองทุกวัน (ดึงหนังปลายองคชาตลงเพื่อปรับสภาพให้รูดเปิดได้)
  • หากจำเป็น ให้ขลิบหนังหุ้มปลายบางส่วนหรือทั้งหมด หรือผ่าตัดขยายหนังหุ้มปลาย

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ 

  • ค่าใช้จ่ายและวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน แพทย์จะให้คำปรึกษาถึงวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

ภาวะหนังหุ้มปลายตีบอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • ภาวะหนังหุ้มปลายตีบอาจจะทำให้คุณปวดหรือเคือง ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้หนังหุ้มปลายองคชาตฉีกขาด แต่การสวมถุงยางอนามัยและใช้สารหล่อลื่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างมาก
  • ภาวะหนังหุ้มปลายตีบจะทำให้องคชาตแข็งตัวและ/หรือแข็งตัวต่อเนื่องได้ยาก
  • ภาวะหนังหุ้มปลายตีบอาจเพิ่มความเสี่ยงติดโรคจากการแพร่เชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และอาการที่เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การดึงหนังหุ้มปลายขึ้น ระหว่างสวมถุงยางอนามัย สามารถลดการเคลื่อนไหวและอาจจะช่วยลดอาการเคือง/ความเจ็บปวดลงได้

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.