โรคฝีมะม่วง (LGV)

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

ฝีมะม่วงเป็นโรคที่พบน้อยในประเทศออสเตรเลีย

ฝีมะม่วงเป็นโรคประจำถิ่นในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกาใต้ รวมถึงประเทศในเขตทะเลแคริบเบียน แต่ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ได้มีการพบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย โดยยังเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยในประเทศออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่จะมีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง(การอักเสบของลำไส้ใหญ่ ทำให้มีอาการปวดและถ่ายเป็นเลือด) ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 

ฝีมะม่วงคืออะไร

โรคฝีมะม่วง (LGV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รักษาให้หายได้ โดยจะเกิดตุ่มนูนเล็กๆ ที่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ จากนั้นบริเวณที่ติดเชื้อจะบวมใหญ่เป็นก้อน อาจเกิดการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ลำไส้ใหญ่ คอและต่อมน้ำเหลืองได้ โรคฝีมะม่วงสามารถติดต่อกันได้ แม้แต่ในผู้ที่เป็นฝีมะม่วงซึ่งไม่แสดงอาการก็ตาม

โรคฝีมะม่วงเกิดจากแบคทีเรียสายพันธุ์คลาไมเดียและแพร่เชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันได้ทางทวารหนัก ทางปากหรือช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิวหนังถลอกหรือเป็นแผล ในประเทศออสเตรเลีย ฝีมะม่วงเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยสุดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) ซึ่งมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคนผ่านทางทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย 

ผู้ที่มีอาการของโรคฝีมะม่วงมีโอกาสติดโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆสูงขึ้น รวมถึงโรคไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส หนองในและ HIV 

Content warning: click to show images of symptoms

ช่องคลอด/ปากช่องคลอด

ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการอาจได้แก่:

  • มีแผลขนาดเล็ก โดยไม่มีอาการเจ็บหรือปวด
  • ผิวหนังบริเวณขาหนีบบวมและแดง
  • ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม 
  • ปวดท้องน้อย
  • แคมนอกและแคมในบวม
  • หากผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เกิดแผลลุกลามที่บริเวณอวัยวะเพศ ตามด้วยการอักเสบของบริเวณที่ติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองมีอาการปวดและบวมโต (หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าฝีมะม่วง) และ/หรือมีไข้ ปวดตามข้อ ปอดบวมหรือข้ออักเสบรีแอคทีฟ

องคชาต 

ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการอาจได้แก่:

  • มีแผลขนาดเล็ก โดยไม่มีอาการเจ็บหรือปวด
  • ผิวหนังบริเวณขาหนีบบวมและแดง
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือลำไส้ตรงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม
  • ปวดท้องน้อย
  • หากผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้เกิดแผลลุกลามที่บริเวณอวัยวะเพศ ตามด้วยการอักเสบของบริเวณที่ติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองมีอาการปวดและบวมโต (หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าฝีมะม่วง) และ/หรือมีไข้ ปวดตามข้อ ปอดบวมหรือข้ออักเสบรีแอคทีฟ

ทวารหนัก/ลำไส้ตรง

ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการอาจได้แก่:

  • มีแผลขนาดเล็ก โดยไม่มีอาการเจ็บหรือปวด
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ตรงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม
  • มีเลือด เมือกหรือหนองไหลออกมาจากลำไส้ตรงหรือถ่ายเป็นเลือด
  • มีอาการปวดขณะขับถ่ายหรือรู้สึกขับถ่ายไม่สุด
  • ท้องเสียและปวดท้องน้อย
  • หากผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้บริเวณเยื่อบุลำไส้ตรงอักเสบได้ (เรียกว่าอาการไส้ตรงอักเสบ) และ/หรือมีไข้ ปวดตามข้อ ปอดบวมหรือข้ออักเสบรีแอคทีฟ

คอ

ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการอาจได้แก่:

  • ผนังหลังลำคออักเสบบวม
  • แผลเปื่อย
  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองตรงลำคอบวม

ต่อมน้ำเหลือง

ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการอาจได้แก่:

  • ผิวหนังบริเวณขาหนีบบวมและแดง
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบหรือลำไส้ตรงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างบวม
  • ปวดท้องน้อย
  • หากผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้เกิดแผลเปื่อยได้ ตามด้วยการอักเสบของบริเวณที่ติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองมีอาการปวดและบวมโต (หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปฝีมะม่วง) และ/หรือมีไข้ ปวดตามข้อ ปอดบวมหรือข้ออักเสบรีแอคทีฟ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีมะม่วงอาจทำให้เกิดอาการ:

  • ติดเชื้อเรื้อรังและเนื้อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อถูกทำลาย
  • หูรูดทวารหนักตีบ (การหดตัวของลำไส้ตรง)
  • เนื้อเยื่อตาย  (การตายของเซลล์)
  • ต่อมน้ำเหลืองแตก
  • เกิดรูที่บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างช่องคลอดกับสำไส้ตรง (ฝีคัณฑสูตร Fistula)
  • เกิดแผลฉีกขาด (ทะลุเป็นรู) 
  • เกิดแผลเป็น
  • ภาวะแทรกซ้อนตามระบบต่างๆ เช่น ปอดบวมและไวรัสตับอักเสบ

การแพร่เชื้อ

  • โรคฝีมะม่วงติดต่อกันได้โดยการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทั้งทางทวารหนัก ปากหรือช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิวหนังหรือเยื่อเมือกมีบาดแผลหรือฉีกขาด 
  • การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น โดยไม่ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนถุงยางอนามัยระหว่างคู่นอนก็สามารถแพร่โรคฝีมะม่วงได้ 

 แม้แต่ผู้ป่วยโรคฝีมะม่วงที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้

โรคฝีมะม่วงพบได้บ่อยในบางภูมิภาคของทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศแถบละตินอเมริกาและประเทศในเขตทะเลแคริบเบียน ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่มีโรคฝีมะม่วงแพร่มากกว่าประเทศอื่นๆ และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ติดเชื้อก็อาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคฝีมะม่วงได้ 

การป้องกัน

คุณสามารถป้องกันการแพร่โรคฝีมะม่วงได้ด้วยการ:

  • ใช้ถุงยางอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น ถุงมือหรือแผ่นยาง
  • สวมถุงยางอนามัยชิ้นใหม่กับทุกสิ่งที่ย้ายจากทวารหนักหรือช่องคลอดของคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง (รวมถึงเซ็กส์ทอยด้วย)
  • ใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นยาง เมื่อมีกิจกรรมทางเพศโดยใช้ปาก
  • ใช้ถุงมือใหม่ เมื่อมีกิจกรรมทางเพศโดยใช้นิ้วหรือกำปั้น
  • สวมถุงยางอนามัย เมื่อใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่นหรือทำความสะอาดเซ็กส์ทอยซิลิโคน โลหะ พลาสติก ABS หรือแก้ว ด้วยน้ำอุ่นและสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย 
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์สวนทวารร่วมกับผู้อื่น

แนะนำให้คุณเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งที่เปลี่ยนการมีเพศสัมพันธ์จากทางทวารหนักเป็นช่องคลอดหรือทางปาก

การตรวจ 

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโรคฝีมะม่วงมีดังนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่เป็นมิตรกับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจโรค โดยการป้ายเอาเนื้อเยื่อและเก็บตัวอย่างไว้ จะมีการตรวจหาแบคทีเรียสายพันธุ์คลาไมเดีย 
  • หากผลตรวจแบคทีเรียสายพันธุ์คลาไมเดียออกมาเป็นบวก ทางห้องปฏิบัติการจึงจะตรวจตัวอย่างเพื่อหาเชื้อโรคฝีมะม่วงเพิ่มเติม ผู้ที่มีผลตรวจเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์คลาไมเดียบริเวณทวารหนักเป็นบวกทุกคนจะได้รับยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ไปรับประทานเป็นเวลา 7 วันและหากผลตรวจฝีมะม่วงออกมาเป็นบวก จะต้องรับประทานยาเป็นเวลา 21 วัน

ควรตรวจเมื่อไหร่

  • ควรตรวจโรคฝีมะม่วงหากคุณมีอาการหรือคู่นอนเป็นฝีมะม่วง จะเป็นการดีที่สุด 
  • ในการตรวจสุขภาพทางเพศตามปกตินั้นไม่มีการตรวจหาฝีมะม่วง ดังนั้น คุณจะต้องปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับอาการ และพวกเขาจะสั่งตรวจ หากเห็นว่าคุณอาจเป็นฝีมะม่วง 

ข้อมูลอื่นๆ

  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแต่เรียกเก็บจากรัฐบาลแทน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare ก็ตาม ดังนั้น ในกรณีส่วนใหญ่ การตรวจหาฝีมะม่วงก็น่าจะฟรี 
  • หากคุณพบแพทย์ GP คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่เสียก็ได้ 

การรักษา

โรคฝีมะม่วง สามารถรักษาได้ 

วิธีรักษา

  • โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลาสามสัปดาห์นั้นมีประสิทธิภาพ 
  • หากต่อมน้ำเหลืองของคุณปวดหรือบวม ก็อาจจะต้องใช้เข็มเจาะเอาหนองออก
  • คุณสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกหลังจากรักษาจนหายแล้ว – คุณไม่ได้มีภูมิคุ้มกันหลังจากป่วยเป็นโรคนี้
  • ภายหลังการรักษาสามเดือน การเข้ารับการตรวจสุขภาพทางเพศอีกครั้งนั้นเป็นความคิดที่ดีเพื่อรับรองว่าคุณได้รักษาจนหายแล้ว 

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ 

  • โดยทั่วไปแล้ว ค่ายาปฏิชีวนะสำหรับการรักษา STI เช่น โรคฝีมะม่วงอยู่ระหว่าง 10-20 ดอลลาร์ออสเตรเลีย สำหรับผู้ที่มีสิทธิใช้โครงการสวัสดิการยา (PBS) 
  • หากคุณมีบัตรสุขภาพ (healthcare card) โดยปกติ คุณจะจ่ายแค่ค่าสั่งจ่ายยา ซึ่งอยู่ที่ 6 ดอลลาร์ออสเตรเลียโดยประมาณ 
  • แพทย์ GP สามารถแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มีให้คุณทราบเพิ่มเติมได้ 
  • คลินิกสุขภาพทางเพศของรัฐสามารถรักษาโรคฝีมะม่วงได้ ไม่ว่าคุณจะมีสิทธิได้รับสวัสดิการ Medicare หรือไม่ก็ตาม
  • คุณเสี่ยงที่จะป่วยเป็นฝีมะม่วงซ้ำอีกหรือติดโรค STI อื่นๆ มากขึ้นในปีแรกหลังจากเป็น ฝีมะม่วง 

ฝีมะม่วงอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • แพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีกิจกรรมทางเพศ จนกว่าจะได้รับยาปฏิชีวนะครบ 21 วันแล้ว 
  • หากคุณไม่สามารถหยุดงานได้ การสวมถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอก็สามารถป้องกันการแพร่เชื้อฝีมะม่วง ในขณะที่รับประทานยารักษาอยู่ได้ในระดับหนึ่ง คุณอาจพิจารณาเสนอให้บริการแบบอื่น หรือให้บริการแบบไม่มีการสัมผัสกัน เช่น เซ็กซ์โฟนหรืองานออนไลน์
  • ผู้ที่มีเชื้อฝีมะม่วงมีโอกาสติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ สูงขึ้น เช่น HIV โรคไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิสและหนองใน ถุงยางอนามัยเป็นเครื่องป้องกันที่ดีที่สุด!
  • การอักเสบเรื้อรังของโรคอาจทำให้เนื้อเยื้อบริเวณที่ติดเชื้อถูกทำลายอย่างรุนแรงและอาจจะต้องเข้ารับผ่าตัด ดังนั้น อย่าลืมเข้ารักษาการรักษาโดยเร็ว 
  • เมื่อทานยาปฏิชีวนะแล้วคุณมักจะป่วยเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดคุณอาจควรทานพวกโพรไบโอติกส์ระหว่างและหลังการรับประทานยารักษาเพื่อป้องกันโรคเชื้อรานี้ 

ข้อควรพิจารณาในด้านกฎหมายและการแจ้งผลตรวจ

  • บางรัฐและดินแดนอาจมีกฎหมายที่ห้ามการทำงานบริการหรือการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คุณมี BBV หรือ STI ตรวจดูข้อมูลทางกฎหมายและ BBV, STI หรือติดต่อองค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่ของคุณเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
  • การติดตามผู้สัมผัสโรค (contact tracing) ของคู่นอนคนก่อนๆ (หรือที่เรียกว่าการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรค partner notification) เป็นการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรค BBV และ STI บางชนิด ซึ่งการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรคนี้ควรกระทำโดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของคนทำงานบริการ องค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่ของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการแจ้งผลการตรวจโรคแก่ผู้สัมผัสโรคเพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกับตัวคุณ
  • ฝีมะม่วงเป็นโรคที่ต้องแจ้งผลตามปกติในบางเขต ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยโรคหนองในจะถูกรายงานผลไปยังหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐหรือดินแดนนั้นๆ โดยไม่มีการบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูล คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดในเขตของคุณได้จากข้อมูลทางกฎหมายและ BBV, STI

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.