This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)
ตารางด้านล่างนี้มีข้อมูลทั่วไปว่าบุคคลควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อยเพียงใด โปรดใช้ตารางนี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเป็นรายบุคคลเพื่อหาความถี่ที่เหมาะสมกับการตรวจโรค การกำหนดความถี่ในการตรวจควรพิจารณาจากลักษณะงานบริการที่คุณให้บริการ ประเภทบริการที่คุณให้บริการ ความเสี่ยงและอาการจากการมีเพศสัมพันธ์ ในบางรัฐและบางเขตแดน มีการใช้กฎหมายหรือข้อบังคับกฎระเบียบของสถานบริการ หรือระเบียบที่กำหนดขึ้นเอง ในการกำหนดความถี่ของการตรวจโรค
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและอาการจากการมีเพศสัมพันธ์ การตรวจอาจเป็นเพียงแค่การใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียว หรือการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดเพียงครั้งเดียว และในบางกรณี อาจให้เจ้าตัวใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างได้เอง ตารางด้านล่างนำเสนอรายชื่อโรคติดเชื้อและการตรวจโรคทั้งหมด โดยระยะเวลาที่ยังตรวจไม่พบเชื้อระหว่างวันที่รับสัมผัสเชื้อกับวันที่ผลตรวจออกมาเป็นบวกจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการตรวจโรค
หากเกิดกรณีถุงยางอนามัยแตก หรือคุณมีอาการ โปรดติดต่อ ศูนย์สุขภาพทางเพศ
วิธีและบริเวณที่ตรวจ | ช่วงเวลาการตรวจตามปกติ** | การตรวจหลังจากสงสัยว่าอาจรับเชื้อ |
---|---|---|
หนองในเทียม | ทุก 3 เดือน | เมื่อคุณมีอาการ 7-14 วันหลังจากสงสัยว่าอาจรับเชื้อ เมื่อคู่นอนมีผลตรวจเป็นบวก |
บริเวณช่องคลอด (ปากมดลูก) โดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* ตรวจปัสสาวะ บริเวณลำไส้ตรง (ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก) โดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* บริเวณคอโดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง | ||
หนองในแท้ | ทุก 3 เดือน | 1-2 สัปดาห์หลังจากสงสัยว่าอาจรับเชื้อ เมื่อคุณมีอาการ เมื่อคู่นอนมีผลตรวจเป็นบวก |
บริเวณช่องคลอด (ปากมดลูก) โดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* ตรวจปัสสาวะ บริเวณลำไส้ตรง (ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก) โดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* บริเวณคอโดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง | ทุก 3 เดือน | |
ไวรัสตับอักเสบเอ | ครั้งเดียว ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ | หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ เข้ารับการตรวจสองสัปดาห์หลังจากสงสัยว่าเสี่ยงได้รับเชื้อ |
ตรวจเลือด | ||
ไวรัสตับอักเสบบี | ครั้งเดียว ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี | หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และมีความเสี่ยงที่อาจจะรับเชื้อ ให้รออย่างน้อยสี่สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากมักจะตรวจไม่พบเชื้อหากเข้ารับการตรวจก่อนหน้านั้น |
ตรวจเลือด | ||
ไวรัสตับอักเสบซี | เฉพาะกรณีที่ได้สัมผัสเลือด | เข้ารับการตรวจไวรัสตับอักเสบซีได้ทันทีหลังจากสงสัยว่าอาจรับเชื้อ คุณจะต้องตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจาก 3 เดือนและอาจต้องตรวจอีกครั้งเมื่อครบหกเดือน |
ตรวจเลือด | ||
HIV | อย่างน้อยปีละสองครั้ง | หากคุณคิดว่าคุณได้รับเชื้อ HIV ให้พบแพทย์เพื่อขอ PEP ภายใน 72 ชั่วโมงและเข้ารับการตรวจตามที่แพทย์สั่ง คนส่วนใหญ่ที่รับเชื้อ HIV จะมีผลตรวจเป็นบวกภายใน 1 เดือน สำหรับคนส่วนน้อย อาจต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือนกว่าจะตรวจพบเชื้อ |
ตรวจเลือด ใช้ชุดตรวจชนิดเร็ว Rapid test (เจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือน้ำลาย) ใช้ชุดตรวจด้วยตนเอง/ตรวจที่บ้าน (เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว) | ||
ซิฟิลิส | ทุก 3-6 เดือน | เป็นไปได้ที่จะตรวจพบเชื้อซิฟิลิสในการตรวจเลือดหลังจากที่คุณอาจรับเชื้อมา 1-2 สัปดาห์ แต่มีโอกาสตรวจพบมากขึ้นหลังจาก 6 สัปดาห์เป็นต้นไป |
ตรวจเลือด | ||
เริม | หากมีอาการ | ไม่แนะนำให้ตรวจในผู้ที่ไม่มีอาการของโรคเริม หากมีอาการ วิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจเมื่อแผลพุพองมีอายุน้อยกว่า 4 วัน |
ใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่างจากแผลพุพองหรือแผลเปื่อย | ||
พยาธิในช่องคลอด | ทุก 3 เดือน | ตรวจเมื่อคุณมีอาการและมีผลตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เป็นลบ คุณอาจจะต้องขอให้มีการตรวจ ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของคุณ |
ตรวจปัสสาวะ ช่องคลอด/ปากมดลูกโดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* | ||
แคนดิดา (เชื้อรา) | หากมีอาการ | ไม่เกี่ยวข้อง – ไม่ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ช่องคลอดโดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* | ||
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV) | หากมีอาการ | ไม่เกี่ยวข้อง – ไม่ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
ช่องคลอดโดยใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่าง* |
* คุณอาจสามารถใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเองที่บ้านหากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเช่น ถุงยางแตกหรือหากคุณมีอาการของ STI หรือ BBV โปรดเข้าไปที่ศูนย์สุขภาพทางเพศ