โรคกลาก/สังคัง (Jock Itch)

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

สังคัง (Jock Itch) คือการติดเชื้อราโดยเกิดจากการเจริญเติบโตที่มากจนเกินไปของ เชื้อราขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง เส้นผมและเล็บของคุณ กลากมักจะขึ้นในบริเวณที่อุ่นและชื้นเช่น ขาหนีบ ต้นขาด้านใน บริเวณรอยพับต่างๆ และบั้นท้าย  การติดเชื้อจะทำให้เกิดผื่นที่มักจะคันหรือแสบร้อน บริเวณที่ติดเชื้อจะดูเป็นสีแดง มีสะเก็ด หรือขุยร่วมด้วยหากผิวคุณไม่เข้ม ส่วนผู้ที่มีผิวเข้ม ผื่นก็อาจจะดูเป็นสีเทาหรือน้ำตาล

โดยปกติ ผู้ป่วยโรคกลาก/สังคังจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ติดต่อกันได้ง่ายมาก การรีบรักษาจะช่วยลดอาการและป้องกันการแพร่ไปสู่ผู้อื่น การใช้ครีมต้านเชื้อราชนิดทาภายนอกและการรักษาความสะอาดของอวัยวะที่เป็นสังคังให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอเป็นวิธีรักษาโรคกลาก/สังคังที่ได้ผล

โรคกลาก/สังคังเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีองคชาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่น 

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

Content warning: click to show images of symptoms

ผิวหนัง

  • อาการคันและแสบ 
  • ผื่นแดงและเป็นสะเก็ดหรือมีตุ่มพุพอง 
  • ผื่นมีอาการแย่ลงจากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ
  • ผื่นไม่ดีขึ้น แย่ลงหรือขยายเป็นวงกว้างหลังจากใช้ครีมสเตียรอยด์แก้คันชนิดที่ซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (ไฮโดรคอร์ติโซน) 
  • ผิวหนังแตก แยกหรือลอก
  • สีผิวเปลี่ยน

เท้า

  • ฮ่องกงฟุตจะเป็นสะเก็ดหรือทำให้เท้าแตก โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้า
  • นอกจากนี้ เล็บอาจเปลี่ยนสี หนาขึ้น เปราะและเป็นสีขาว

สาเหตุที่พบบ่อย

ปัจจัยใดๆ ก็ตามที่ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีอาจจะกระตุ้นให้เป็นโรคกลาก/สังคัง

ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้รวมถึง

  • การสัมผัสผิวหนังของผู้ป่วยหรือสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคกลาก
  • มีเหงื่อออกมากจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬาหรืออากาศร้อน
  • เสื้อผ้าที่รัดแน่นหรือผิวหนังที่ถูเสียดสีกัน
  • ผิวหนังที่ชื้น
  • การใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรืออุปกรณ์กีฬาร่วมกับผู้อื่น
  • การใช้ห้องอาบน้ำส่วนรวม/ร่วมกันผู้อื่น

การป้องกัน

คุณสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกลาก/สังคัง ได้หลายวิธี:

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่น
  • อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น
  • ฆ่าเชื้อพื้นที่เปียกหรือเฟอร์นิเจอร์สำหรับมีเพศสัมพันธ์/เฟอร์นิเจอร์สำหรับมีเพศสัมพันธ์แบบคุกใต้ดินที่มีผู้ถูกพันธนาการและผู้ลงทัณฑ์ (BDSM) 
  • หมั่นล้างมือเป็นประจำ
  • รักษาผิวให้แห้งและสะอาด โดยเฉพาะรอบๆ ขาหนีบ
  • หมั่นล้างบริเวณที่อาจจะติดเชื้อด้วยสบู่และน้ำเปล่า และเช็ดให้แห้งหมดจด
  • นอกจากนี้ การทาแป้งฝุ่น/แป้งเด็กก็อาจจะช่วยลดความชื้นส่วนเกินได้ด้วย
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป และสวมเสื้อผ้าหลวมๆ เมื่ออากาศร้อนหรือชื้น 
  • ซักเสื้อผ้ากีฬาหรือสิ่งที่สวมใส่ออกกำลังกายหลังจากการใช้งานแต่ละครั้ง
  • รีบรักษาโรคน้ำกัดเท้า เนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดโรคสังคัง หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเดียวกันกับเท้าและขาหนีบ จนกว่าคุณจะไม่มีอาการแล้ว 
  • ใส่รองเท้าแตะในห้องอาบน้ำส่วนรวมหรือในพื้นที่เปียก

การตรวจ 

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโรคกลาก/สังคังมีดังนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่เป็นมิตรกับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • การตรวจผิวหนังโดยแพทย์/พยาบาล (โดยส่วนใหญ่)
  • ขูดผิวหนังที่ติดเชื้อไปตรวจ (ซึ่งอาจจะช่วยตัดความสงสัยว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่นๆ) ควรตรวจเมื่อไหร่
  • หากใช้ยาจากร้านขายยาชนิดที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์แล้วอาการยังไม่หายเป็นปกติ
  • หากผื่นแย่ลง หลังจากรักษาแล้ว

ข้อมูลอื่นๆ

  • ถึงแม้ว่าโรคกลาก/สังคังจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่แพทย์ก็ควรตรวจดูผื่นที่ไม่หายขาดเพื่อตัดความสงสัยว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดอื่นๆ

การรักษา

ในกรณีส่วนใหญ่ คุณสามารถรักษาโรคกลาก/สังคังได้เองที่บ้าน แต่บางครั้ง คุณก็ต้องรักษาโดยใช้ใบสั่งยา ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้มีดังนี้   

วิธีรักษา

  • ทาครีมรักษาเชื้อรา (จำหน่ายที่ร้านขายยาชนิดที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์)
  • ใช้ยารักษาเชื้อราที่แพทย์สั่งจ่าย (ครีมหรือยารับประทาน)
  • ล้างบริเวณที่มีอาการด้วยสบู่และน้ำอุ่นให้สะอาดหมดจด
  • รักษาบริเวณที่มีอาการให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ รวมถึงให้อากาศถ่ายเทสะดวกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในทุกวัน
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ระบายอากาศได้ดี
  • รักษาอาการติดเชื้อราอื่นๆ เช่น โรคน้ำกัดเท้า

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ 

  • ยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปชนิดไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ราคาปกติไม่ถึง 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย
  • ยารักษาเชื้อราชนิดรับประทานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องไส้ปั่นป่วนและปวดศีรษะ
  • คุณไม่จำเป็นต้องรักษาคู่นอน ยกเว้นว่าพวกเขาจะมีอาการ

โรคกลากอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • ยารักษาโรคกลาก/สังคังชนิดครีม อาจทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมประสิทธิภาพ หากไปโดนถุงยาง
  • ผิวหนังที่ระคายเคืองจากโรคกลาก/สังคังอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด และอาจทำให้การสัมผัสร่างกายหรือมีเพศสัมพันธ์เป็นไปอย่างลำบาก
  • คุณและลูกค้าของคุณสามารถติดโรคกลาก/สังคังจากกันและกันได้ ด้วยการสัมผัสผิวหนัง ใช้อุปกรณ์ป้องกันหรือเสนอบริการประเภทอื่นแทน หากคุณกังวลว่าจะแพร่เชื้อหรือสังเกตเห็นว่าคุณหรือลูกค้ามีผื่นขึ้น 

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.