ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV)

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV) เป็นอาการอักเสบในช่องคลอดโดยเกิดจากการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของแบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้ค่า pH ตามธรรมชาติเสียสมดุล ​​แม้จะไม่มีการมองว่าภาวะ BV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และไม่ติดต่อกัน แต่ดูเหมือนว่าจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ ภาวะ BV สามารถรักษาได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก 

 ภาวะ BV เกิดจากอะไร

  • สาเหตุที่แท้จริงซึ่งก่อให้เกิดภาวะ BV ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เราทราบกันว่าการสัมผัสสารที่เป็นด่าง เช่น น้ำอสุจิ สารหล่อลื่น เลือดและสบู่สามารถทำให้สภาพความเป็นกรดตามธรรมชาติภายในช่องคลอดแปรเปลี่ยนไปและทำให้แบคทีเรียเจริญจนมากเกินไป
  • การสวนล้างช่องคลอดอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัย เนื่องจากไปทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดตามธรรมชาติเสียสมดุล
  • ภาวะ BV ยังพบได้ทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์เป็นตัวกระตุ้น

ภาวะ BV ไม่เหมือนกับการติดเชื้อยีสต์ (ภาวะเชื้อราในช่องคลอด) ซึ่งเป็นการติดเชื้อรา 

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

Content warning: click to show images

แม้ว่าภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากมีอาการเกิดขึ้น โดยปกติมักจะเกิดขึ้นภายในสี่วันหลังจากที่ค่า pH ในช่องคลอดของคุณเปลี่ยนไป หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะ BV อาจจะ 

  • ทำให้คุณเสี่ยงที่จะติดโรค STI และโรค BBV อื่นๆ มากขึ้น
  • ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID)
  • กระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ และ 
  • ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ 

ผู้ที่มีช่องคลอดราว 50-75% ที่มีภาวะ BV จะไม่แสดงอาการใด

หากคุณมีลักษณะผิดสังเกตหรืออาการ อาจมีอาการทางช่องคลอดดังต่อไปนี้:

  • ตกขาวที่เหลวเป็นน้ำ สีขาวหรือสีเทา
  • ตกขาวมีกลิ่น ‘คาวปลา’ รุนแรง
  • รู้สึกระคายเคืองบริเวณปากช่องคลอด
  • ปวดแสบขณะปัสสาวะ

การลุกลามของภาวะ BV อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด:

  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (รวมถึงหลังจากการผ่าตัดยุติการตั้งครรภ์ การสอด IUD หรืออุปกรณ์ทางนรีเวชอื่น ๆ)
  • การติดเชื้อหนองในเทียม หนองในแท้ หรือไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV2)
  • การติดหรือการแพร่เชื้อ HIV
  • การแท้งบุตรโดยธรรมชาติ
  • การคลอดก่อนกำหนด 
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (การติดเชื้อที่รกและถุงน้ำคร่ำ)
  • เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหลังคลอด

การป้องกัน

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ถึงแม้ว่าการติดเชื้อ BV จะไม่มีวิธีป้องกันที่ไว้ใจได้ แต่วิธีการดังต่อไปนี้อาจช่วยทำให้ค่า pH อยู่ในระดับปกติและป้องกันมิให้แบคทีเรียเจริญมากเกินไป:

  • การสวมถุงยางอนามัยและใช้สารหล่อลื่นสูตรน้ำขณะมีเพศสัมพันธ์
  • การหาสารหล่อลื่นที่เหมาะกับร่างกายของคุณและยึดใช้ไปเรื่อย ๆ 
  • การสวมถุงมือ เมื่อใช้นิ้วหรือกำปั้นสอดใส่
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด (การฉีดน้ำเข้าไปในช่องคลอดเพื่อทำความสะอาด) – ช่องคลอดไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดเป็นพิเศษ
  • อย่าล้างช่องคลอดและปากช่องคลอดบ่อยจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการผสมน้ำมันอาบน้ำ น้ำยาฆ่าเชื้อ สบู่ที่มีกลิ่นหอม สบู่ทำฟองในอ่างอาบน้ำที่มีน้ำหอม แชมพู ฯลฯ ลงในน้ำที่ใช้อาบน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผงซักฟอกที่มีฤทธิ์แรงเพื่อซักชุดชั้นใน
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ ‘น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น’ ที่มีน้ำหอม และผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอมหรือดับกลิ่น เช่น สเปรย์และทิชชู่เปียก 

ฉันจะป้องกันมิให้ตนเองเป็น BV อีกได้อย่างไร

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น BV แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ คุณสามารถกลับมาเป็น BV ได้อีกในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ถึงแม้ว่าจะรักษาหายแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับคนทำงานบริการหลาย ๆ คน ข้อควรระวังเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้ โดยใช้ร่วมกับวิธีการข้างต้นอาจจะช่วยป้องกันมิให้คุณกลับมาเป็น BV ซ้ำอีก

  • หลีกเลี่ยงการใช้เซ็กส์ทอยในช่องคลอด
  • ใช้แผ่นยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทางปาก และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำลายเป็นสารหล่อลื่น – น้ำลายเป็นพาหะจุลินทรีย์ซึ่งอาจจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตมากจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงในจีสตริงและถุงน่องผ้าไนล่อนที่รัดแน่น สวมชุดชั้นในที่ระบายอากาศได้ดีและนอนโดยไม่ต้องสวมชุดชั้นใน 
  • เปลี่ยนแผ่นอนามัย ผ้าอนามัยหรือผ้าอนามัยแบบสอดบ่อย ๆ
  • หากชุดชั้นในของคุณเริ่มชื้นหรืออับชื้นในระหว่างวัน ก็ให้เปลี่ยนหรือใช้แผ่นอนามัย
  • อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนการอาบในอ่าง 
  • การมีประจำเดือนน้อยเหมือนว่าจะทำให้ BV มีโอกาสกลับมาน้อยลง ดังนั้น หากประจำเดือนคุณมามากตลอดและกำลังคิดว่าจะเข้ารับการรักษา นี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ควรเข้ารับการรักษาเลย
  • เช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง หลังจากปัสสาวะหรือขับถ่าย
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเจลกรดแลคติก
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานแลคโตบาซิลัส Lactobacillus (โพรไบโอติกส์) หลังจากรักษา BV ด้วยยาปฏิชีวนะ
  • จัดการกับความเครียด: ระดับความเครียดที่สูงอาจจะกระตุ้นเพิ่มโอกาสทำให้เป็น BV ซ้ำ 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับกรดบอริก 

คนทำงานบริการบางคนใช้วิธีรักษาทางเลือกด้วยการสอดยาเหน็บกรดบอริกเข้าไปในช่องคลอด และรู้สึกว่าสามารถบรรเทาอาการ BV ได้ ข้อมูลทางคลินิกที่น่าเชื่อถือของเราไม่แนะนำให้ใช้กรดบอริก และกรดบอริกก็ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง หากรับประทานเข้าไปอาจเกิดเป็นพิษและแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้ หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้กรดบอริกเนื่องจากก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทราบและตระหนักถึงสิ่งที่ชุมชนของเราประสบพบเจอรวมถึงความรู้ที่ส่งต่อ ๆ กันระหว่างเพื่อน ๆ ถึงแม้เราไม่สามารถแนะนำได้ว่าไม่ควรใช้ยาเหน็บกรดบอริกสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อรักษา BV แต่เราก็ยอมรับว่าคนทำงานบริการต่างก็ใช้และบอกต่อถึงข้อมูลวิธีนี้ ดังนั้นเราจึงให้ข้อมูลข้างต้นเพื่อให้คุณได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น 

การรักษาคู่นอน

  • ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาคู่นอนที่มีองคชาตจะช่วยป้องกันคู่นอนที่มีช่องคลอดไม่ให้เป็น BV ได้
  • หากคุณและคู่นอนของคุณมีช่องคลอดทั้งคู่ ก็ดูเหมือนว่าการรักษา BV ของคู่นอนไปพร้อมๆ กันกับคุณ – ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่มีอาการก็ตาม – สามารถป้องกันมิให้กลับมาเป็น BV ซ้ำได้

การตรวจ 

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อ BV มีดังนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีให้คำปรึกษากับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจหาเชื้อ BV โดยการใช้ไม้ป้ายเก็บตัวอย่างตกขาว 

ควรตรวจเมื่อใด

  • การตรวจจะขึ้นอยู่กับอาการ หากคุณเคยมีภาวะ BV มาก่อน การแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก็อาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
  • คุณไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเพื่อรับรองว่าคุณหายจาก BV แล้ว เว้นเสียแต่ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือว่าคุณมีอาการอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้คุณกังวล หากคุณกำลังตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจหนึ่งเดือนหลังการรักษาเพื่อรับรองว่ารักษาจนหายขาดแล้ว 
  • การตรวจหาเชื้อ BV ไม่รวมอยู่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพทางเพศตามปกติ ดังนั้นจะมีการตรวจก็ต่อเมื่อได้มีการปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลแล้วเท่านั้น 

ข้อมูลอื่นๆ

  • การตรวจทางพยาธิวิทยามักจะไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจากเรียกเก็บได้จากรัฐบาล ดังนั้น ส่วนใหญ่ก็น่าจะตรวจฟรี
  • คุณอาจจะต้องจ่ายค่าพบแพทย์หรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย ไม่ว่าคุณจะมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ Medicare หรือไม่ก็ตาม

การรักษา

การตรวจพบเชื้อ BV ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไป หากผู้ป่วยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือมีอาการใด ๆ ก็จะไม่มีการรักษาให้ 

จุดประสงค์ของการรักษาคือการทำให้ช่องคลอดกลับมามีสภาพเป็นกรดตามธรรมชาติ การรักษาสามารถอยู่ในรูปแบบของ:

  • การใช้ยาเหน็บ/ห่วงพยุงทางช่องคลอด – สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาหรือทางออนไลน์
  • การล้างช่องคลอดด้วยน้ำเกลือ
  • ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งจ่าย (คุณจะต้องรับประทานยาทั้งหมดจนครบ)
  • ครีมทาช่องคลอดที่แพทย์สั่งจ่าย
  • คนทำงานบริการบางรายใช้ยาเหน็บที่มีกรดบอริกสอดเข้าไปในช่องคลอด แต่มีความเสี่ยงที่ร้ายแรงอยู่โปรดอ่านข้อควรระวังเกี่ยวกับกรดบอริกข้างต้น 

ภาวะช่องคลอดอักเสบนี้อาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

  • การระคายเคืองอาจจะทำให้รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณป่วยเป็น BV อยู่บ่อย ๆ
  • คุณอาจต้องจำกัดการให้บริการเพื่อป้องกันมิให้กลับมาติดเชื้อซ้ำ
  • คนทำงานบริการบางรายอาจจะระแวงกลิ่นตนเองระหว่างติดเชื้อ BV 
  • ยาปฏิชีวนะบางประเภทสามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (‘ยาคุม’) ได้
  • การรักษาโดยการสอดยาเข้าไปในช่องคลอด เช่น ครีม สามารถทำให้ถุงยางเสื่อมประสิทธิภาพและเสี่ยงที่จะแตกมากขึ้น

คุณควรแจ้งเพื่อนร่วมงานที่บริการลูกค้าพร้อมกันเกี่ยวกับการติดเชื้อ BV ก่อนร่วมงานด้วยกัน

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.