โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

โรคพยาธิในช่องคลอด (หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ‘trike’ หรือ ‘trich’) เป็นโรคติดติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง โรคนี้สามารถก่อให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด และปากมดลูก และคนทุกเพศสามารถติดเชื้อได้ โรคนี้มักจะติดต่อกันในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ แต่ยังสามารถติดต่อกันผ่านการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดทำความสะอาดหน้าที่เปียกชื้นร่วมกัน 

ผู้คนที่เป็นโรคพยาธิในช่องคลอดประมาณ 70% ไม่มีอาการใด ๆ หากคุณมีอาการ อาการอาจได้แก่มีตกขาวสีเหลือง-เขียวและมีกลิ่นเหม็น พร้อมกับรู้สึกคัน แดงและแสบภายในช่องคลอด คุณสามารถแพร่กระจายโรคได้แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการก็ตาม โรคพยาธิในช่องคลอดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

หากมีอาการปรากฏ อาการมักจะเกิดภายใน 5 ถึง 28 วัน หลังจากได้รับเชื้อ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา โรคพยาธิในช่องคลอดจะลุกลามส่งผลให้มีบุตรยาก เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ และโอกาสแพร่กระจายเชื้อ HIV ไปสู่ผู้อื่นสูงขึ้น การเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดจะก่อให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งทำให้เชื้อโรคติดติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าสู่ร่างกายหรือแพร่ไปยังผู้อื่นได้ง่ายขึ้น

Content warning: click to show images of symptoms

ช่องคลอด/ปากช่องคลอด

โรคพยาธิในช่องคลอดอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หากมีอาการหรือลักษณะผิดสังเกต อาการอาจมีดังนี้:

  • ตกขาวเป็นฟองหรือมีกลิ่นเหม็น มีสีเหลือง สีเทา หรือสีเขียว
  • คันหรือแสบในช่องคลอด
  • รู้สึกเจ็บปวดในช่องท้องส่วนล่าง
  • รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรือเมื่อปัสสาวะ

องคชาต

โรคพยาธิในช่องคลอดมักจะไม่แสดงอาการในผู้ที่มีองคชาต หากมีอาการหรือลักษณะผิดสังเกต อาการอาจได้แก่:

  • รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • มีสารคัดหลั่งหรือขี้เปียกจากปลายองคชาต

การแพร่เชื้อ

โรคพยาธิในช่องคลอดติดต่อกันจากการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดแบบ “ธรรมชาติ”/ไม่ป้องกัน เป็นหลักนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อกันผ่านทาง: 

  • คราบตกขาวบนมือหรือเซ็กส์ทอย
  • การสัมผัสปากช่องคลอดกับปากช่องคลอดโดยตรง
  • การใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดทำความสะอาดหน้าที่เปียกชื้นร่วมกัน

โรคพยาธิในช่องคลอดไม่สามารถแพร่เชื้อไปที่ปากและก้นได้

คุณยังคงสามารถแพร่เชื้อโรคพยาธิในช่องคลอดได้แม้คุณไม่มีอาการใด ๆ

การป้องกัน

หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดโรคพยาธิในช่องคลอดคือการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด และเปลี่ยนถุงยางอนามัยระหว่างคู่นอนเมื่อใช้เซ็กส์ทอยหรือให้บริการขึ้นคู่ / บริการเป็นกลุ่ม 

แนะนำให้คุณเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งที่เปลี่ยนจากการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางก้นเป็นช่องคลอดหรือทางปาก

การตรวจ 

ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจหาโรคพยาธิในช่องคลอด มีดังต่อไปนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีให้คำปรึกษากับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • ตรวจปัสสาวะ (ทุกเพศ)
  • ใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างจากช่องคลอดในผู้ที่มีช่องคลอด

ควรตรวจเมื่อใด

  • เป็นไปได้ว่าผลตรวจจะออกมาเป็นบวกภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ได้รับเชื้อ แต่การติดเชื้อบางครั้งอาจไม่แสดงผลบวกนานนับเดือน คุณอาจจำเป็นต้องตรวจมากกว่าหนึ่งครั้งหากคุณกังวลว่าคุณอาจเป็นโรคพยาธิในช่องคลอด 
  • ให้เข้ารับการตรวจหากคุณมีคู่นอนที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อดังกล่าว

ข้อมูลอื่นๆ

  • โรคพยาธิในช่องคลอดไม่ได้รวมอยู่ในการตรวจสุขภาพทางเพศตามปกติ ดังนั้น คุณอาจต้องขอให้แพทย์หรือพยาบาลตรวจเพิ่มเติม 
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่าตรวจโดยเรียกเก็บจากรัฐบาลแทน ถึงแม้คุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare การตรวจก็น่าจะฟรี 
  • หากคุณพบแพทย์ GP คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน 

การรักษา

โรคพยาธิในช่องคลอดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้มีดังนี้   

วิธีรักษา

  • โดยปกติจะรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพียงครั้งเดียว

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ 

  • เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำใหม่ คู่นอนควรเข้ารับการรักษาไปพร้อม ๆ กัน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่มีอาการก็ตาม
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาขึ้นอยู่กับยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งจ่ายให้คุณ
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่ารักษาโดยเรียกเก็บจากรัฐบาลแทน ถึงแม้คุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare การรักษาก็น่าจะฟรี 
  • หากคุณพบแพทย์ GP คุณอาจจะเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน 
  • โรคพยาธิในช่องคลอดสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด แต่ร่างกายคุณจะไม่สร้างภูมิคุ้มกัน คุณอาจจะติดโรคพยาธิในช่องคลอดซ้ำได้อีก

โรคพยาธิในช่องคลอดอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร 

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • ขอแนะนำให้คุณงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 7 วันหลังเข้ารับการรักษา 
  • หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อโรคพยาธิในช่องคลอด แต่ไม่สามารถรับประกันได้
  • ยาปฏิชีวนะบางประเภทสามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (‘ยาคุม’) ได้ 
  • หากคุณมักจะป่วยเป็นโรคเชื้อราเมื่อทานยาปฏิชีวนะ คุณก็ควรทานพวกโพรไบโอติกส์ระหว่างและหลังการรับประทานยารักษาเพื่อป้องกันภาวะเชื้อราในช่องคลอด
  • คุณควรแจ้งบุคคลที่ทำงานขึ้นคู่กับคุณด้วยหากคุณมีผลตรวจโรคพยาธิในช่องคลอดเป็นบวก

ข้อควรพิจารณาด้านกฎหมายและการแจ้งผลตรวจ

  • บางรัฐและดินแดนอาจจะมีกฎหมายที่กำหนดให้การให้บริการหรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างป่วยเป็นโรค BBV หรือ STI เป็นความผิด ตรวจดูข้อมูลทางกฎหมายและ BBV STI  หรือติดต่อองค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม 
  • การติดตามผู้สัมผัสโรคในผู้ที่เป็นอดีตคู่นอน (หรือที่เรียกว่า ‘การแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรค’) เป็นการแจ้งผลแก่ผู้ที่สัมผัสโรค BBV และ STI บางชนิด ซึ่งการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรคนี้ควรดำเนินการโดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของคนทำงานบริการ องค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่ของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรคเพื่อรับรองว่ามีความเหมาะสมตามสถานการณ์ของคุณ

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.