ถุงยางอนามัยแตก

This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)

คุณสามารถปรึกษาคลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่เกี่ยวกับ  PEP และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน้า HIV & AIDS 

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดโดยที่คุณเป็นฝ่ายรับ ให้ดำเนินการดังนี้

  • หยุดให้บริการทันที
  • ขจัดน้ำอสุจิที่รั่วออกโดยการนั่งยองๆ แล้วออกแรงเบ่ง
  • ปัสสาวะออกเพื่อขับสารคัดหลั่งที่อาจตกค้างบริเวณท่อปัสสาวะ
  • อาจต้องใช้นิ้วตักน้ำอสุจิที่หลงเหลืออยู่หรือเกี่ยวถุงยางอนามัยที่แตกออก แต่ระวังอย่าใช้เล็บเกา
  • ล้างบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจด
  • ไม่แนะนำให้สวนล้าง เพราะอาจทำให้เยื่อบุผนังช่องคลอดระคายเคือง หรือดันน้ำอสุจิให้เข้าไปในช่องคลอดลึกกว่าเดิม จนเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ (ในบางกรณี) 
  • หากรู้สึกว่าเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ ให้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าอสุจิ
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 7 วัน และควรตรวจให้เร็วขึ้น หากมีอาการ
  • ขอ PEP ทันที (ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ) หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV คุณสามารถปรึกษาคลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่เกี่ยวกับการขอรับ PEP 

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยที่คุณเป็นฝ่ายรับ ให้ดำเนินการดังนี้

  • หยุดให้บริการทันที
  • นั่งบนโถส้วมและเบ่งเพื่อไล่น้ำอสุจิออกให้ได้มากที่สุด
  • ล้างบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจด
  • ไม่แนะนำให้สวนล้าง เพราะอาจเป็นการดันน้ำอสุจิให้เข้าไปลึกกว่าเดิม จนเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าอสุจิ
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวันที่ 7 และควรตรวจให้เร็วขึ้น หากมีอาการ
  • ขอ PEP ทันที (ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ) หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV คุณสามารถปรึกษาคลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่เกี่ยวกับการขอรับ PEP

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยเป็นฝ่ายรุก ให้ดำเนินการดังนี้

  • ปัสสาวะและล้างบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจด โดยเฉพาะบริเวณภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต
  • ขอรับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หากเข้าข่าย
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวันที่ 7 และควรตรวจให้เร็วขึ้น หากมีอาการ
  • ขอ PEP ทันที (ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ) หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV คุณสามารถปรึกษาคลินิกสุขภาพทางเพศในพื้นที่เกี่ยวกับการขอรับ PEP

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์โดยเป็นผู้ใช้ปาก ให้ดำเนินการดังนี้

  • คุณสามารถบ้วนทิ้งหรือกลืนก็ได้แล้วแต่คุณ แนะนำให้กลืนแทนการบ้วนทิ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV เนื่องจากในช่องปากมีแนวโน้มที่จะมีช่องทางให้เชื้อ HIV เข้าสู่กระแสเลือดของคุณได้มากกว่าลำคอและหลอดอาหารที่ต่อไปยังกระเพาะของคุณ และเมื่อน้ำหล่อลื่นและอสุจิไหลลงสู่กระเพาะอาหารแล้ว กรดในกระเพาะอาหารจะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในสารคัดหลั่งได้ อย่างไรก็ตาม หนองในเทียมและหนองในแท้ที่ติดเชื้อในคอ มาจากสารคัดหลั่งที่อยู่ในปาก ดังนั้นไม่ว่าจะบ้วนทิ้งหรือกลืน ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เท่ากัน โรคซิฟิลิสสามารถติดต่อทางจุดใดก็ได้ในช่องปาก ดังนั้นถือว่ามีความเสี่ยงเท่ากันไม่ว่าจะบ้วนทิ้งหรือกลืน
  • บ้วนปากด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง
  • ห้ามแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน หรือรับประทานอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังให้บริการ
  • ระหว่างการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ครั้งต่อไป ให้ขอให้เจ้าหน้าที่ใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณคอเพื่อตรวจ

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะที่เป็นฝ่ายรับ ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก ให้ดำเนินการดังนี้

  • ปัสสาวะและล้างบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดหมดจด โดยเฉพาะบริเวณภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต
  • ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวันที่ 7 และควรตรวจให้เร็วขึ้น หากมีอาการ

หากถุงยางอนามัยแตกหรือหลุดขณะทำ trick sex (การมีเพศสัมพันธ์ภายนอกในลักษณะที่ลูกค้าจับองคชาตของตนเองมาถูที่ต้นขาหรือแก้มก้นด้านในของผู้ให้บริการ)

  • ล้างบริเวณที่องคชาตสัมผัสและบริเวณที่เปื้อนน้ำอสุจิโดยใช้น้ำสบู่อุ่นๆ

เพิ่มเติม

  • ใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรักหรือคู่สมรส จนกว่าจะทราบผลการตรวจโรค

Rate this resource:

Was this article useful?

As you found this post useful...

Follow us on social media!

We are sorry that this post was not useful for you!

What can we do to make this a stronger resource for sex workers?

Tell us how we can improve this post.