This post is also available in: English (อังกฤษ) 简体中文 (จีนประยุกต์) 한국어 (เกาหลี)
โรคหิดเป็นสภาวะคันที่ผิวหนังอันเกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ตัวหิดหรือไรขนาดเล็ก (แมลง) จะอาศัยหลบอยู่ภายใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังและทำให้เกิดการเกา โรคหิดสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสร่างกายผู้ที่เป็นโรคอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลานาน รวมถึงกิจกรรมทางเพศ นอกจากนี้หิดยังสามารถแพร่กระจายจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่งของร่างกายได้ผ่านการเกา บริเวณที่พบรอยโรคโดยทั่วไปคือข้อมือ ง่ามมือและง่ามเท้า ข้อศอก หัวเข่า แก้มก้น และองคชาตและถุงอัณฑะ
ตัวหิดสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้นานเป็นเวลา 24 ถึง 36 ชั่วโมง ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อหิดจากสิ่งของที่มีหิดอยู่ เช่น ผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า (แม้ว่าจะพบได้น้อยมากก็ตาม) โรคหิดสามารถติดต่อกันได้และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แม้เมื่อไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม ผู้คนที่อยู่รอบตัวคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเช่นกันหากคุณเป็นโรคหิด
ลักษณะผิดสังเกตและอาการ
บุคคลที่เป็นหิดครั้งแรก อาจจะใช้เวลานานถึง 2 – 6 สัปดาห์ อาการจึงจะปรากฏ
บุคคลที่เคยเป็นโรคหิดมาก่อนมักจะแสดงอาการเร็วกว่า (1 – 4 วัน) หลังจากที่ได้สัมผัสกับตัวหิด
โรคหิดอาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดแผลบนผิวหนัง หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้น
Content warning: click to show images of symptoms
ผิวหนัง/อวัยวะเพศ
ลักษณะผิดสังเกตหรืออาการ อาจได้แก่:
- คันผิวหนังอย่างรุนแรง โดยอาการคันจะรุนแรงมากขึ้นในเวลากลางคืนและหลังจากอาบน้ำอุ่น
- มีรอยหรือเส้นเล็ก ๆ คดเคี้ยวที่ผิวหนังซึ่งเรียกว่า อุโมงค์หิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณง่ามมือและรอยพับตามผิวหนัง เช่น รักแร้และอวัยวะเพศ
- มีตุ่มผื่นหรือผื่นลักษณะคล้ายสิว
- มีจุดหรือตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก
- มีตุ่มนูนคันมากที่ถุงอัณฑะหรือแคม
องคชาต
- เนื่องจากผิวหนังที่องคชาตมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม บริเวณที่มีการติดเชื้อจึงกลายเป็นสะเก็ดแผลนูนขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกา
การแพร่เชื้อ
โรคหิดแพร่เชื้อจากผิวหนังสู่ผิวหนังโดยการสัมผัสร่างกายกันแบบใกล้ชิด รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ โรคหิดยังสามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องนอนอีกด้วย
การป้องกัน
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่เชื้อโรคหิดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการหรืออาการที่มองเห็น
การตรวจ
ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจโรคหิด มีดังนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีให้คำปรึกษากับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา
วิธีตรวจ
- ตรวจด้วยสายตาเพื่อหาอุโมงค์หิดในบริเวณที่ติดเชื้อ
- บางครั้งจะมีการขูดผิวหนังเล็กน้อยเพื่อตรวจหาร่องรอยของตัวหิด
ควรตรวจเมื่อใด
- หากคุณสังเกตเห็นอาการใด ๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหิด
- หากคุณเคยสัมผัสร่างกายอย่างใกล้ชิดหรือใช้เครื่องนอน ผ้าเช็ดตัว หรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้ที่มีอาการของโรคหิด
ข้อมูลอื่นๆ
- คุณอาจจะต้องจ่ายค่าพบแพทย์หรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาลแทน
- คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะให้บริการฟรี ไม่ว่าคุณจะมีสวัสดิการ Medicare หรือไม่ก็ตาม
การรักษา
โรคหิดสามารถรักษาให้หายได้ ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้มีดังนี้
วิธีรักษา
- การทายาเพอร์เมทริน (permethrin) 5% ที่ผิวหนัง ซึ่งสามารถซื้อได้โดยตรงจากเภสัชกรตามร้านขายยา ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างขวด
- ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอนในน้ำร้อนในระหว่างที่ทำการรักษาอยู่
ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่นๆ
- หลังการรักษาครั้งแรก คุณจะไม่แพร่เชื้ออีกต่อไป
- ยาจะทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อฆ่าตัวหิด แต่ผื่นคันอาจจะคงอยู่ไปอีกหลายสัปดาห์หลังจากการรักษา
- คู่นอนและบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันในครัวเรือนจำเป็นต้องได้รับการรักษาเช่นกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่มีอาการก็ตาม
- ควรพบแพทย์หากการรักษาด้วยยาที่ซื้อจากร้านขายยาไม่ได้ผล
- โรคหิดจะไม่หายไปเอง
โรคหิดอาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร
ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ
- โรคหิดสามารถแพร่กระจายจากระหว่างลูกค้ากับคนทำงานบริการด้วยการสัมผัสทางผิวหนังใช้อุปกรณ์ป้องกันหรือเสนอบริการประเภทอื่นแทน หากคุณกังวลว่าจะแพร่หิดหรือสังเกตเห็นอาการบนผิวหนังของคุณหรือลูกค้า
- หลังจากการรักษาครั้งแรก คุณจะไม่แพร่โรคหิดอีกต่อไป ดังนั้น โรคหิดจึงไม่น่าจะส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ
- คุณควรแจ้งบุคคลที่ทำงานขึ้นคู่กับคุณด้วย หากคุณพบว่าคุณเป็นโรคหิด